Author Topic: การแข่งขันตอบปัญหาสรีรวิทยานานาชาติ (Inter-medical School Physiology Quiz)  (Read 90028 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624
น้องๆ สุดยอดมากครับ http://j.mp/rpc6KX

อ.ศักนันบรรยายรายละเอียดและบรรยากาศของการแข่งขันได้ดีมาก ผมชอบที่สุดตรงข้อความนี้

"ในระหว่างการรับมอบ (รางวัล) นั้น ได้มีการประกาศเชิดชูเกียรติว่า ทีมจุฬาฯ เป็นทีมที่ชนะเลิศในการแข่งขันในรายการนี้ ทีมแรกที่มาจากประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ;D

ยินดีด้วย ยินดีด้วย
« Last Edit: August 30, 2014, 11:46:40 AM by Wanla »

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624
ผมติดตามข่าวแบบห่างๆ ตลอดระยะเวลา 4 ครั้งหลัง ที่จุฬาฯ เข้าร่วมแข่งขันด้วย ขอเล่าสถิติที่น่าสนใจบางประการนะครับ

ครั้งที่ 6 (2551) เป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนแพทย์นานาชาติเข้าร่วมแข่งขัน ปีนั้น จุฬาฯ เข้าร่วมเป็นปีแรก และศิริราชกับมศว. ส่งทีมเข้าดูงานและสังเกตการณ์ ซึ่งผลสอบข้อเขียนรายบุคคลปรากฏว่า

"ผลการสอบข้อเขียนจะประกาศในเวลากลางคืนที่จัดเป็นงาน mini concert dinner คือมีงานแสดงของนักเรียนแพทย์จากสถาบันต่าง ๆ ของประเทศต่าง ๆ สลับกับการประกาศผลสอบข้อเขียน เรียงจากทีมที่ผ่านเข้ารอบจากลำดับที่ 16 ไปจนถึงลำดับที่หนึ่ง  สิ่งที่น่ายินดีและเป็นความภูมิใจมาก คือทีมที่มีผลการสอบเป็นลำดับหนึ่งในปีนี้ เป็นทีมจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

http://elearning.medicine.swu.ac.th/km/?p=44

« Last Edit: August 20, 2011, 12:40:35 PM by Wanla »

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624
ปีต่อมา (ครั้งที่ 7 - 2552) มีผู้เข้าร่วมแข่งขันกว่า 30 ทีม จาก 9 ประเทศ Malaysia, Thailand, Japan, China, Singapore, Srilanka, India, Philippines, and Indonesia

จุฬาฯ ได้คะแนนข้อเขียน (multiple-choice questions) เป็นลำดับที่หนึ่ง ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 สร้างความประทับใจให้กับ professor ของ Univ of Malaya ที่เป็นประธานจัด ดังที่ท่านกล่าวว่า เป็นการเปิดหูเปิดตาจริงๆ ที่ให้โอกาสประเทศที่มิได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ เข้าร่วมแข่งขันด้วย

it was an eye opener to have participating teams from countries where the medium of instruction is not in English. At the sixth and seventh IMSPQ, the Chulalongkorn team from Bangkok, Thailand, emerged as the first ranked team in the multiple-choice question test. In the sixth IMSPQ, the Chulalongkorn team went on to the quarter finals in the oral session (the Thais had a spoken disadvantage as they met the English-speaking University of New South Wales, Australia, team). This year, the Chulalongkorn team was the second prize winner at the seventh IMSPQ!

กล่าวคือ ผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในปีนั้น ทีมจาก National University of Singapore (NUS) ได้รางวัลชนะเลิศ โดยจุฬาฯ มาเป็นลำดับที่ 2 และ Monash University, Malaysia มาเป็นที่ 3 http://j.mp/nuKOkJ

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624
ปีที่แล้ว (ครั้งที่ 8 - 2553/2010) เพิ่มจำนวนผู้สมัครเข้าแข่งขัน เป็น 41 ทีม จาก 16 ประเทศ (จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ก็เข้าร่วมด้่วย) ทีมของไทยที่เข้าร่วม ประกอบด้วย ศิริราช มศว. สุรนารี วลัยลักษณ์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การสอบข้อเขียนในรอบแรก ที่จุฬาฯ สร้างความฮือฮาให้กับนานาชาติเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยได้ลำดับที่ 1 ทั้งสองปีนั้น

ครั้งนี้ จากผู้เข้าสอบข้อเขียน 190 คน การประกาศผลผู้ได้คะแนน top 10 พบว่า ลำดับที่ 1 ได้แก่ med student จาก Univ of Malaya ส่วนนิสิตจุฬาฯ ได้ลำดับที่ 2 และ 4 และนศพ.ศิริราช ได้ลำดับที่ 3 และ 5 http://j.mp/oxWfKd

ส่วนการสอบปากเปล่าหลังจากนั้น ทีมจุฬาฯ ผ่านเข้าไปเพียงรอบ 32 ทีม ทีมมศว. เข้าไปได้ในขั้นถัดไป ส่วนทีมจากศิริราช เข้าไปได้ถึงรอบ semifinal http://j.mp/oxWfKd

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624
และในปีนี้ (ครั้งที่ 9 - 2554/2011) มีผู้เข้าแข่งขัน 50 ทีมจาก 18 ประเทศ จำนวน 258 คน ดังที่อ.ศักนันให้รายละเอียดไว้อย่างดี http://j.mp/rpc6KX ยืนยันว่า แม้ปีที่แล้ว คะแนนข้อเขียนรายบุคคล จุฬาฯ จะได้ลำดับที่ 2 และ 4 แต่คะแนนข้อเขียนประเภททีม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คะแนนสูงสุดทุกครั้ง ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่เข้าร่วมแข่งขัน

ปีนี้ ทีมจากประเทศไทยประกอบด้วย ศิริราช มศว. สุรนารี วลัยลักษณ์ และจุฬาฯ เช่นเดียวกับปีที่แล้ว

คะแนนสอบข้อเขียนประเภทบุคคล ซึ่งประกาศผลผู้ได้คะแนนสูงสุด 10 คนแรก (จากทั้งหมด 258 คน) เป็นผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทย 3 คน คือนสพ.นฤพัฒน์ นสพ.บูรณ์ภิภพ และนสพ.นันทนัช จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ลำดับที่ 1, 3, และ 7 ตามลำดับ)

3 ครั้งแรก ที่จุฬาฯ เข้าร่วมแข่งขัน เห็นได้ชัดว่า ความรู้ทางวิชาการของเราไม่ด้อยกว่าใคร คะแนนข้อเขียนสูงสุดทุกครั้ง แต่ติดขัดปัจจัยหลักคือภาษาอังกฤษ แม้ว่าหวุดหวิดจะได้แชมป์ในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อ 2 ปีที่แล้วก็ตาม

ปีนี้เตรียมตัวได้ดีมากๆ ครับ คว้าชัยชนะให้กับประเทศที่มิได้ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก  :-*

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624
การแข่งขันครั้งที่ 10 - 2012 29-30 ส.ค. เสร็จสิ้นแล้ว ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับจากคณาจารย์ผู้เกี่ยวข้องคือ

ทีมที่เข้าร่วมในปีนี้ เพิ่มเป็น 20 ประเทศ 70+ ทีม 300+ คน (ทีมจากประเทศไทย เข้าใจว่าเป็นชุดเดิมที่เคยไปร่วมแข่งในปีก่อนๆ)

รอบข้อเขียน ทีมจุฬาฯ 5 คน ติดอยู่ใน 10 คนแรก ทุกคน

ลำดับที่ 1 คะแนนเท่ากัน 2 คน นายกฤติน อู่ศิริมณีชัย และ นายกิตติธัช ตันติธนวัฒน์

(ไม่มีลำดับที่ 2)

ลำดับที่ 3 คะแนนเท่ากัน 2 คน นายดนิษฐ์ เลียวสุธามาศ และ นายณัชชากร ขวัญขจรวงศ์

ลำดับที่ 8 นายภาณุพงศ์ ห่านศรีวิจิตร

รอบปากเปล่า (final) ทีมจุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขัน ป้องกันตำแหน่งแชมป์ได้

ตั้งแต่เจ้าภาพเปิดโอกาสให้นานาชาติเข้าร่วมการแข่งขันเป็นต้นมานั้น (ครั้งที่ 6 ปี 2551)

ทีมจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1) ได้ที่ 1 ข้อเขียน ประเภททีม ติดต่อกันทุกปี

2) เป็นทีมแรกและทีมเดียว ที่มาจากประเทศที่มิได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ที่สามารถชนะเลิศการแข่งขัน และ

3) เป็นทีมแรกและทีมเดียว ที่ได้ตำแหน่งแชมป์ติดต่อกันสองสมัย  :)

Saknan

  • Guest
รายชื่อน้องๆตัวแทนครับบ ครั้งที่ 6... นายเสกข์ แทนประเสริฐสุข (เสก), นายธนพล ภูษนปัญญา (พล), นายกฤษพร สัจจวรกุล (ปุ้ย) - MDCU62
7... นายวิทวัส เติมกลิ่นจันทน์ (ต่อ), นางสาวธนัชพร นันทวิสิทธิ์ (กิ๊ฟท์), นางสาวกุลยา ตรรกวาทการ (ก้อย) - MDCU63
8... นายนนทิกร ธีรสุวิภากร (น๊อต), นายเฉลิมชัย โกเมนธรรมโสภณ (ท๊อป), นายภัคพล รัตนชัยสิทธิ์ (โอ๊ค) - MDCU64
9... นายนฤพัฒน์ แสงพรสุข (ป๊อป), นายบูรณ์พิภพ บุญเพ็ง (บูม), นางสาวนันทนัช วุฒิไกรวิทย์ (เพชร), นางสาวฝันฝ้าย สมเกียรติ (ฝ้าย), นายภัทรพล กาญจนพิพัฒน์กุล (อุ๋น) - MDCU65
10... นายกิตติธัช ตันติธนวัฒน์ (โก๊ะ), นายกฤติน อู่ศิริมณีชัย (ป้อ), นายดนิษฐ์ เลียวสุธามาศ (โฟน), นายณัชชากร ขวัญขจรวงศ์ (เดล), นายภาณุพงศ์ ห่านศรีวิจิตร (อ้น) - MDCU66
จุดเด่นที่เหมือนกันทุกรุ่นคือ น้องๆทุกคนน่ารัก สามัคคี ดูแลกันดีมากกๆๆครับผม ::)
« Last Edit: September 01, 2012, 11:06:53 AM by Wanla »

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624
ข้อมูลเพิ่มเติม จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ เล่าว่า ทีมจากประเทศไทยปีนี้ นอกจาก 5 ทีมเดิมแล้ว (ศิริราช มศว. วลัยลักษณ์ สุรนารี และจุฬาฯ) มีผู้เข้าร่วมเพิ่มอีก 3 แห่ง รวมเป็น 8 ทีมแล้วนะครับ

ทีมที่เข้าร่วมเป็นครั้งแรกในปีนี้ ได้แก่ ม.สงขลานครินทร์ ม.นเรศวร และม.นราธิวาสราชนครินทร์ ครับ

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624


Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624
การแข่งขันครั้งที่ 11 เสร็จสิ้นไปเมื่อเดือนที่แล้ว ปีนี้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันเพิ่มขึ้นอีก อยู่ในช่วงราวๆ 90 ทีมแล้ว โดยสำหรับทีมจากประเทศไทย นอกจากทีมเดิมๆ แล้ว ได้ยินว่า ปีนี้มีทีมจากม.เชียงใหม่ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า เข้าร่วมเพิ่มเติมด้วย

ในส่วนของข้อเขียน นิสิตแพทย์จุฬาฯ ยังคงแสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ คือคะแนนรวมประเภททีม มาเป็นลำดับที่หนึ่ง รักษาแชมป์คะแนนรวมข้อเขียนไว้ได้ ติดต่อกัน 6 ปี (ครั้งที่ 6-11)

(น่าประทับใจมากจริงๆ)

คะแนนข้อเขียนลำดับที่ 1 - https://www.facebook.com/api.chewcharat 71%

คะแนนข้อเขียนลำดับที่ 2, 3, 4 คะแนนเท่ากัน 3 คน 63%

โดยเป็นนิสิตจุฬาฯ 2 คน https://www.facebook.com/trakanta และ https://www.facebook.com/tanupat.boon และ med student จาก NUS 1 คน

ลำดับที่ 5 นักศึกษาแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

ลำดับที่ 6, 7 คะแนนเท่ากัน 2 คน คือ https://www.facebook.com/b.tanawat และ med student จาก NUS 1 คน 58%

ลำดับที่ 8 ข่าวไม่ชัดเจนว่า เป็น med student จากศรีลังกา หรือจาก Univ of Malaya (เจ้าภาพ)

ลำดับที่ 9 นักศึกษาแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

ลำดับที่ 10 https://www.facebook.com/sv.pearl

การแข่งขันตอบปากเปล่า คัดเอามาแข่งเพียง 40 ทีมแรก แข่งทั้งหมด 4 รอบ คัดออกไปเรื่อยๆ ทีมจุฬาฯ สามารถเข้าไปจนถึงรอบสุดท้าย แต่ปีนี้พลาดท่าให้กับ National University of Singapore (NUS) อย่างหวุดหวิดจริงๆ เราได้รองอันดับหนึ่ง และตามมาด้วยทีมจากศรีลังกา

ยินดีด้วยอย่างมาก กับน้องๆ ทั้ง 5 ท่าน และคณาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา นับเป็นความสำเร็จอย่างยิ่ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ปีแล้ว  :emoticon_key_0048:


Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 624
บันทึกไว้เป็นข้อมูลนะครับ ผลการแข่งขันตอบปัญหาสรีรวิทยานานาชาติ ครั้งที่ 12 ทีมเข้าร่วมแข่งขันจาก 24 ประเทศ ปีนี้ร่วมร้อยทีมแล้ว มากขึ้นทุกๆ ปี

โดยปีนี้มี University of Cambridge จากอังกฤษมาร่วมด้วย

ทีมจากประเทศไทย 11 ทีม ได้แก่ ศิริราช, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ  ม.เชียงใหม่  ม.นเรศวร ม.สงขลานครินทร์ ม.นราธิวาสราชนครินทร์ ม.มหาสารคาม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า ม.เทคโนโลยี สุรนารี ม.วลัยลักษณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข่าวดีหลายประการครับ

1. ทีมนักศึกษาแพทย์ ศิริราช ได้รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 (ทีมชนะเลิศคือ University of Medicine 2, Yangon เมียนมาร์ http://en.wikipedia.org/wiki/University_of_Medicine_2,_Yangon และรองชนะเลิศลำดับที่ 2 คือ Second Military Medical University ประเทศจีน)

ผมเข้าใจว่า สำหรับจุฬาฯ และ NUS พบชะตากรรมเดียวกัน ต่างก็เข้าไปได้ถึง 12 ทีมสุดท้ายเท่านั้น หากข้อมูลคลาดเคลื่อน ขออภัยล่วงหน้าด้วยครับ

ซึ่งทำให้สถิติของทีมจากประเทศไทย ใน 6 ปีล่าสุด (2009-2014) เราได้ตำแหน่งชนะเลิศ และ/หรือ รองชนะเลิศลำดับที่ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง มากกว่าประเทศใดๆ กล่าวคือ มากถึง 5 ใน 6 ปี http://x.co/5Mt4F (ยกเว้นปี 2010 ปีเดียวเท่านั้น) รองลงมาคือ ประเทศสิงคโปร์ กล่าวคือ National University of Singapore (NUS) ได้ 2 ปี คือปี 2009 และปี 2013

2. สำหรับผลการแข่งขันประเภทข้อเขียน สมาชิกทีมจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติด top ten ผู้ได้คะแนนข้อเขียนสูงสุด ถึง 4 ลำดับ คือ ลำดับที่ 4, 7, 8, และ 10 มากที่สุดในบรรดาทีมทั้งหมด (รองลงมาคือ NUS ได้ข้อเขียนที่ 1, 3, และ 8 ศิริราชได้ที่ 4 (คะแนนเท่ากับจุฬาฯ) และที่ 9 ส่วนทีมชนะเลิศคือ University of Medicine 2, Yangon เมียนมาร์นั้น มีตัวแทน 1 คน ที่ติด 1 ใน 10 สอบข้อเขียนได้ลำดับที่ 2) (ได้ยินมาว่า ตัวแทนจากม.เชียงใหม่ ได้ข้อเขียนติด 1 ใน 10 ด้วย หากข้อมูลคลาดเคลื่อน ต้องขออภัยด้วยครับ)

ในส่วนของคะแนนข้อเขียนนั้น หากดูคะแนนเฉลี่ยของทั้งทีม ซึ่งเข้าใจว่า ปีนี้ไม่ได้ประกาศผลคะแนนข้อเขียนเฉลี่ยสูงสุดประเภททีมอย่างเป็นทางการ (ซึ่งที่ผ่านๆ มา จุฬาฯ ได้คะแนนข้อเขียนประเภททีม เป็นลำดับที่หนึ่ง ติดต่อกันมาทุกปี นับตั้งแต่ครั้งที่ 6 ปี 2551 (2008) ที่เจ้าภาพเปิดโอกาสให้ประเทศอื่นๆ เข้าร่วมแข่งขันด้วย) น่าจะอนุมานได้ว่า...

ปีนี้ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น่าจะคงยังรักษาแชมป์ข้อเขียนไว้ได้เช่นเดิม เป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน (2551-2557 หรือ 2008-2014)

ตัวแทนนิสิต จุฬาฯ ที่เข้าแข่งขันคือ นายชล เตโชเรืองวิวัฒน์ นางสาวธนพร รัชตสวรรค์ นางสาวปุญณิศา ตาลกิจกุล นางสาวพิมพ์สิดา นิลกัณหะ และนางสาวอัจฉริยา วิพัฒนกิจเจริญ

ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ทุกท่าน และภาควิชาสรีรวิทยา สำหรับความสำเร็จต่อเนื่องทุกปี

และขอแสดงความยินดีและชื่นชมอย่างยิ่ง สำหรับน้องๆ จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่แสดงศักยภาพของ Thai medical schools ทำให้ประเทศเราได้แชมป์ และ/หรือ รองลำดับที่หนึ่ง ต่อเนื่องกันมาเกือบทุกปี จนใครๆ ที่อาจเคยสงสัยว่า เป็นเรื่องของความบังเอิญหรือโชคช่วยหรือไม่นั้น ขณะนี้ คงไม่มีใครสงสัยแล้วครับ   :emoticon_key_0006: