Author Topic: ผลงานนานาชาติ - Chulalongkorn Medicine international publications Jan-Jun 2010  (Read 5225 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Wanla

  • Administrator
  • เจ้าของโรงเตี๊ยม
  • *****
  • Posts: 623
ประชาสัมพันธ์ผลงานตีพิมพ์นานาชาติบางส่วน ของคณาจารย์อายุรศาสตร์ จุฬาฯ นะครับ

ผมแนบหน้าแรกของผลงานตีพิมพ์สำหรับ Jan-Jun 2010 ที่กำลังแสดงอยู่บนบอร์ดวิจัย (ทางเข้าตึกอบรมวิชาการ) โดยเรียงตามลำดับอักษรของชื่อวารสาร และ book chapters ของ 1) พ.ณัฐชัย (อดีต 'dent & fellow - ขณะนี้ฝึกอบรมที่ Univ of Pittsburgh) กับอ.สมชาย เอี่ยมอ่อง 2) อ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ (2 chapters) มาด้วย 3) อ.พลภัทร และ 4) อ.มาริษา

หลักเกณฑ์ในการเลือกบทความแสดงบนบอร์ด

1. วารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus โดยเป็น paper ที่อาจารย์เป็น first (หรือ co-first หากมี first authors 'contribute
equally' หลายท่าน) หรือ corresponding หรือ last author (กรณีที่อาจารย์เป็น
'senior author' ของ paper แต่ยกให้ junior ท่านอื่นเป็น corresponding author)โดยไม่รวมวารสารที่กึ่งๆ national
เช่น จพสท, Southeast Asian J Trop Med, Asian Pacific J Allerg เป็นต้น หรือแม้แต่ Asian Biomedicine

สรุปว่า มิได้รวมผลงานที่คณาจารย์เป็น co-authors และมิได้รวมผลงานตีพิมพ์ในวารสาร "กึ่งๆ national" นะครับ

เนื่องจาก date of publication สำหรับบทความหนึ่งๆ อาจมี 2 ครั้ง คือวันที่ถูกนำขึ้น online (Epub) และวันที่ตีพิมพ์จริงในตัวเล่ม สำหรับการประชาสัมพันธ์บนบอร์ดวิจัย ถือตามวัน online publication เป็นหลัก เพื่อความฉับไวของการเผยแพร่

สำหรับบทความที่ถูก indexed ใน Scopus ช้ากว่า Jun '10 จะถูกแสดงในบอร์ดรุ่น Jul-Dec '10 ในช่วงถัดไป

2. Book Chapters (international) ที่อาจารย์เป็น author ลำดับใดก็ได้

ค่า "impact factor ratio" ถูกแสดงอยู่ที่หน้าแรกของผลงานตีพิมพ์แต่ละชิ้นด้วย คือนำค่า impact factor 2009 ของวารสารนั้นๆ หารด้วยค่า median impact factor ของสาขาวิชาของวารสารนั้น

ผลงานที่มีค่า IF ratio สูงสุด ประจำช่วง 6 เดือนนี้ (Jan-Jun '10) ได้แก่

1. Original article

1.1 สำหรับงานที่ทำในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เป็นของอ.ศริญญา ใน Circulation (impact factor ratio = 14.816/1.949 = 7.602)

1.2 สำหรับงานที่ทำในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ เป็นของพ.ประพิมพ์พร (อดีตแพทย์ประจำบ้าน) ร่วมกับอ.ธีระพงษ์ ใน Clinical Infectious Diseases (impact factor ratio = 8.195/2.451 = 3.344)

2. Clinical Image ของอ.ศริญญา ใน European Heart Journal (impact factor ratio = 9.800/1.949 = 5.028)

3. Case Report ของพ.ประพิมพ์พร อ.ธีระพงษ์ และอ.ธีระวัฒน์ ใน Clinical Infectious Diseases (impact factor ratio = 8.195/2.451 = 3.344)

4. Reviews/Editorials ของดร.สุภาภรณ์และอ.ธีระวัฒน์ ใน Expert Review of Molecular Diagnostics (impact factor ratio = 3.693/1.861 = 1.984)

สำหรับวารสารบางฉบับ ซึ่งถูกจัดอยู่ในสาขาวิชามากกว่า 1 สาขา (โดยการจัดของ Thomson Reuters ISI ผู้จัดทำ impact factors) ตัวอย่างเช่น วารสาร Circulation ของ cardio ถูกจัดอยู่ใน 3 categories คือ CARDIAC & CARDIOVASCULAR SYSTEMS, HEMATOLOGY, และ PERIPHERAL VASCULAR DISEASE, median factor ที่มาคำนวณ คือของสาขาวิชาที่ใกล้เคียงกับของผลงานที่ตีพิมพ์นั้นๆ มากที่สุด กรณีที่มีความก้ำกึ่ง ใช้ median IF ของสาขาที่มีตัวเลขต่ำที่สุดมาใช้ (เพื่อเป็นประโยชน์แก่เจ้าของผลงานตีพิมพ์)

การใช้ Scopus มาเป็นฐานข้อมูลในการสืบค้น (แทน Medline) เพื่อให้สอดคล้องไปกับการเริ่มต้นจัดลำดับผลงานตีพิมพ์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย (สกว.) สำหรับภาควิชาอายุรศาสตร์ทั่วประเทศ (ซึ่งอายุรศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมของประเทศ) และสกว. มีแผนที่จะจัดลำดับดังกล่าว ทุกๆ 2 ปี

ขอบคุณคุณหนุ่ย ธุรการภาควิชา ที่ช่วยสืบค้น Scopus และ download 60-70% ของ full papers (ในส่วนที่ทำได้จากฐานข้อมูลของคณะและมหาวิทยาลัย)