Recent Posts

Pages: 1 ... 6 7 [8] 9 10
71
การแข่งขันถูกเว้นไป 2 ปี จากการระบาดของโควิด

18th IMSPQ 2022/2565 แข่งขันออนไลน์ (เพราะการระบาดของโควิด) โดยศูนย์กลางอยู่ที่เจ้าภาพ University of Malaya Sep 20 & 22, 22

ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 84 ทีม จาก 19 ประเทศ โดยมีทีมจากประเทศไทยเข้าแข่งขันรวม 6 ทีม
รอบคัดเลือก ข้อสอบข้อเขียน (20 ก.ย. 2565)
นางสาววีริยา ธารทัศนวงศ์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลคะแนนข้อเขียนสูงสุดเป็นอันดับที่ 2
 
รอบตัดเชือก/ชิงชนะเลิศ ด้วยข้อสอบ short answer ผ่านระบบ live online competition (22 ก.ย. 2565)
ทีมจุฬาฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยได้แชมป์เป็นครั้งที่ 4 ตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขัน
 

ทีมนิสิตแพทย์จุฬาฯ ประกอบด้วย
นางสาววีริยา ธารทัศนวงศ์
นายภาวิช พิทักษ์กิจนุกูร
นายทัพพ์ไท เหลืองสุวรรณ

Winner — คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1st runner-up — คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
2nd runner-up — University of Ruhuna (Sri Lanka)
72
17th IMSPQ 2019/2562 University of Indonesia, Jakarta Aug 21-22, 19
เข้าแข่งขันกันมากกว่า 100 ทีม ประกอบด้วยนักศึกษาแพทย์มากกว่า 400 คน

รอบข้อเขียน ทีมจุฬาฯ ประกอบด้วย ธนพัฒน์ หนูแก้ว สิริกร วงศ์สีนิล ภูมินันท์ ซื่อจรรยาพงษ์ และ ศุภิสรา จึงวิวัฒนาภรณ์ คะแนนข้อเขียนรายบุคคล ธนพัฒน์ได้ลำดับที่ 4 และสิริกรได้ลำดับที่ 6

คะแนนข้อเขียนประเภททีม ทีมจุฬาฯ ได้เป็นลำดับที่ 3 โดยทีม “top 8” อีก 7 ทีม ได้แก่ Central South University, Anhui Medical University, Second Military Medical University, Fourth Military Medical University, Tianjin University (China), Seth Gordhandas Sunderdas Medical College (India) และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล


มหาวิทยาลัยต้นสังกัดของนิสิต/นักศึกษาแพทย์ ที่ได้รับรางวัลข้อเขียน ประเภทบุคคล ranking top 11 คนแรก ในการแข่งขันครั้งนี้ ได้แก่
1. Second Military Medical University (China)
2. Central South University (China)
3. Seth Gordhandas Sunderdas Medical College (อินเดีย)
3. Seth Gordhandas Sunderdas Medical College (อินเดีย)
3. All India Institute of Medical Sciences, New Delhi
4. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายธนพัฒน์ หนูแก้ว)
4. Fourth Military Medical University (China)
5. Central South University (China)
6. Chulalongkorn University นางสาวสิริกร วงศ์สีนิล
6. All India Institute of Medical Sciences, New Delhi
6. University of Indonesia

ทีมจุฬาฯ เป็นทีมจากประเทศไทยทีมเดียวที่ได้รับรางวัลข้อเขียน (ประเภทบุคคล) ในการแข่งขันครั้งนี้ อีกทั้งการได้รับรางวัลครั้งนี้ทำให้ทีมจุฬาฯ สร้างสถิติใหม่ เป็นทีมแรกและทีมเดียวที่ได้รับรางวัลในการสอบข้อเขียน 10 ครั้ง จากการส่งเข้าแข่งขันทุกครั้ง (10 ครั้ง)

Winner — NUS (เป็นครั้งที่ 3 ที่ได้แชมป์)
1st runner-up — Anhui University ประเทศจีน
2nd runner-up — คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
73
16th IMSPQ 2018/2561 Aug 15-16, 18 UM Malaysia
เข้าร่วมมากกว่า 100 ทีม 440 คน จาก 23 ประเทศ
รอบคัดเลือก ข้อสอบข้อเขียน (15 ส.ค.) ทีมจุฬาฯ ได้คะแนนรวมอันดับ 1 ประเภททีม ส่วนลำดับที่ 2 ได้แก่ทีม Fourth Military Medical University (China) และลำดับที่ 3 ได้แก่ทีม Gadjah Mada University (UGM, Indonesia) และลำดับที่ 4 ได้แก่ ทีมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ข้อเขียน ประเภทบุคคล ทีมจุฬาฯ ได้รางวัลติดอันดับ Top 10 World Rankings 2 คน ได้ที่
4 คือ นางสาวปัณฑ์ชนิต ยงเกียรติกานต์ และที่ 8 คือ นางสาวกิตติ์รวี พิศาลวรวัฒน์
รอบตอบปัญหาบนเวที (16 ส.ค.) ทีมจุฬาฯ ได้รางวัลชนะเลิศ (ได้แชมป์เป็นครั้งที่ 3 สำหรับจุฬาฯ) ส่วนรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้
ร่วมกันสองทีม ได้แก่ Fourth Military Medical University, China และ The University of
Sydney, Australia

ทีมจากประเทศไทยที่ผ่านรอบข้อเขียน ได้เข้ารอบตอบปัญหาบนเวทีมี 6 ทีม คือ ศิริราช พระมงกุฏ มศว มช มอ และจุฬาฯ และผ่านรอบแรกของการตอบปัญหาบนเวที 2 ทีม คือ ศิริราชและจุฬาฯ
โดยที่ทีมจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นทีมจากประเทศไทยที่ผ่านเข้ารอบ semifinal และ final เพียงทีมเดียว
74
15th IMSPQ 2017/2560 UM Malaysia Aug 16-17, 17 ข้อมูลจากภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

417 participants จาก 103 ทีม 22 ประเทศ ในจำนวนนี้มีทีมจากประเทศไทยทั้งหมด 15 ทีม ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าฯ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวีณ ลีลาเกรียงศักดิ์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คะแนนข้อเขียนเป็นลำดับที่ 7 ซึ่งเป็นคนเดียวใน Southeast Asian countries ที่ได้คะแนนข้อเขียนติดใน 10 ลำดับแรก (ได้ข่าวว่า ปีนี้สไตล์ข้อสอบแตกต่างจากเดิมๆ มาก ประเทศแถบนี้ ตั้งหลักปรับตัวไม่ทัน)

เป็นที่น่าสนใจว่าคะแนนสูงสุดในปีนี้อยู่ที่ 89 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าปีผ่านๆ มา และอันดับที่ 1-3 เป็นนักศึกษาแพทย์จาก Xuzhou Medical University (XZMU) จากประเทศจีน อันดับที่ 4-5 เป็นนักศึกษาแพทย์จาก Second Military Medical University (SMMU) จากประเทศจีนเช่นเดียวกัน อันดับที่ 6 เป็นนักศึกษาแพทย์จาก University of Sri Jayewardenepura (USJP) จากประเทศศรีลังกา

รอบ final บนเวที University of Colombo ประเทศศรีลังกา ได้รับรางวัลชนะเลิศ ทีมจาก University of Sri Jayewardenepura ประเทศศรีลังกา และทีมจาก Xuzhou Medical University ประเทศจีน ได้ 1st & 2nd runners-up ตามลำดับ
75
14th IMSPQ 2016/2559 July 29-30, 2016 UGM อินโดนีเซีย แชมป์ปีที่แล้ว เป็นเจ้าภาพการแข่งขัน ข้อมูลด้านล่างจากจดหมายข่าวของสรีรวิทยาสมาคม

ปีนี้ไม่มีทีมจากจุฬาฯ อีกแล้ว ทีมเข้าแข่งขันทั้งสิ้น 81 ทีม จากประเทศต่าง ๆ 23 ประเทศ คือ Australia (1 ทีม), Bangladesh (1 ทีม), Bosnia-Herzegovina (1 ทีม), Cambodia (1 ทีม), China (10 ทีม), Egypt (1 ทีม), HongKong (1 ทีม), India (7 ทีม), Indonesia (18 ทีม), Iran (1 ทีม), Japan (5 ทีม), Laos (1 ทีม), Malaysia (9 ทีม), Mongolia (1 ทีม), Myanmar (2 ทีม), Nepal (1 ทีม), Singapore (2 ทีม), Srilanka (4 ทีม), Sudan (1 ทีม), Taiwan (2 ทีม), The Philippines (2 ทีม), Vietnam (1 ทีม) และทีมจากประเทศไทยมีทั้งหมด 8 ทีม ได้แก่ วิทยาลัย นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยสุรนารี และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทีมจากประเทศไทยที่ผ่านข้อเขียนเข้าแข่งรอบบนเวที 4 ทีม คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลการแข่งขันในรอบ final ทีมชนะเลิศ คือ Universitos Gadjah Mada (UGM), Indonesia (ได้แชมป์เป็นปีที่สองติดต่อกัน คล้ายกับที่จุฬาฯ เคยได้มาก่อน) ทีมรองชนะเลิศ อันดับ 1 คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (SIMU), Thailand ทีมรองชนะเลิศ อันดับ 2 คือ De La Salle University Health Sciences Institute (DLSU), The Philippines

ข่าวประกอบจากเว็บของ UGM https://ugm.ac.id/en/news/12180-ugm-students-win-physiology-competition/

76
หลังจากไม่ได้ update ข่าวการแข่งขันตอบปัญหาสรีรวิทยานานาชาติ (InterMedical School Physiology Quiz — IMSPQ) มานาน ขณะนี้ได้เวลาเพิ่มข้อมูลให้เป็นปัจจุบันแล้วนะครับ ท้าวความจากกระทู้เดิมที่นี่ http://forum.cumedicine.org/index.php?topic=544.0 ที่เคยเล่าเหตุการณ์ตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 6 ปี 2008/2551 ซึ่งเปิดให้ผู้เข้าแข่งขันจากนานาชาติเข้าร่วมแข่งขันอย่างเป็นจริงเป็นจัง และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมเป็นครั้งแรก เรื่อยมาจนถึงครั้งที่ 12 ปี 2014/2557

ผมจะทยอยเล่าทีละปีเหมือนเดิม ขอบคุณข้อมูลจากภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จากจดหมายข่าวของสรีรวิทยาสมาคม และจากเว็บและเฟสบุ๊คของผู้จัดการประชุมครับ


ครั้งที่ 13th IMSPQ 2015/2558
Aug 12-13, 15 Malaysia ข้อมูลด้านล่างจากจดหมายข่าวของสรีรวิทยาสมาคม
93 ทีม 22 ประเทศ (บังคลาเทศ จีน โครเอเชีย อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย ไต้หวัน มองโกเลีย พม่า เนปาล ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ รัสเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ศรีลังกา ซูดาน โอมาน ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรส และ ไทย) นักศึกษา 391 คน ปีนี้และปีถัดจากนี้ รวม 2 ปี
ไม่มีทีมจุฬาฯ เข้าร่วมด้วย เนื่องจากช่วงเวลาแข่งตรงกับการสอบสำคัญในคณะ สำหรับปีนี้ คณะที่เข้าร่วมแข่งคือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสุรนารี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

เป็นที่น่ายินดีที่
ผู้ได้คะแนนข้อเขียนสูงสุด 10 ลำดับแรก เป็นของไทย 3 ลำดับ คือ ศิริราช (ที่ 1 และที่ 4) และเชียงใหม่ (ที่ 3)

สำหรับรอบ final ตอบคำถามบนเวที รางวัลชนะเลิศ คือ Universitas Gadjah Mada (UGM) ประเทศอินโดนิเซีย อันดับ 2 คือ University of Peradeniya ประเทศศรีลังกา และอันดับ 3 คือ University of Colombo ประเทศศรีลังกา
77
กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีแพทย์ประจำบ้านทุกท่านค่ะ

ขออนุญาตแจ้งตารางกิจกรรมประจำสัปดาห์หน้า ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2566 – 18 สิงหาคม2566 ค่ะ   

วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2566
วันหยุดชดเชยเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและวันแม่แห่งชาติ




วันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2566
เวลา 12.00-13.00 น.: Admission Round* (บันทึกวิดีโอ)   
กิจกรรมแบบ Hybrid สามารถเข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1301 โซน C ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์หรือ ผ่าน Application Zoom
 
Zoom link
https://chula.zoom.us/j/97971439339?pwd=UzE3WTZnQ3dUMWNWMlpySnZHb0RqUT09
 
Meeting ID: 979 7143 9339
Password: 978163




วันพุธที่ 16 สิงหาคม  2566
ไม่มีกิจกรรม




วันพฤหัสที่ 17 สิงหาคม  2566
ไม่มีกิจกรรม





วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม  2566

เวลา 7.30-8.30 น.: Admission Round* (บันทึกวิดีโอ)   
กิจกรรมแบบ Hybrid สามารถเข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1301 โซน C ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์หรือ ผ่าน Application Zoom

Zoom link

https://chula.zoom.us/j/97024700666?pwd=WlpsUTVERzllM2t4djVDeTNsd3ViQT09

Meeting ID: 970 2470 0666

Password: 835117





และขออนุญาตประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพิ่มเติม การประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 59 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “MDCU CONGRESS 2023: PRACTICAL STRATEGIES AND INNOVATIVE APPROACHES FOR IMPROVING PATIENT OUTCOME” ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2566 เวลา 9.00-16.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โดยมีกำหนดการประชุมดังเอกสารแนบค่ะ 

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง
พญ.ปุญณิศา ตาลกิจกุล
หัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน อายุรศาสตร์จุฬาฯ
78
ประกาศ!
วันที่ 12-14 สิงหาคม 2566
หอสมุดเปิดบริการเวลา 09:00-24:00 น.

Announcement!
August 12-14, 2023
Medical Library will be open from
9:00 a.m. to midnight.
79
กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีแพทย์ประจำบ้านทุกท่านค่ะ

ขออนุญาตแจ้งตารางกิจกรรมประจำสัปดาห์หน้า ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 – 4 สิงหาคม2566 ค่ะ   

วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566
ไม่มีกิจกรรม



วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566
วันหยุดราชการเนื่องในวันอาสาฬหบูชา
 


วันพุธที่ 2 สิงหาคม  2566
วันหยุดราชการเนื่องในวันเข้าพรรษา
 





วันพฤหัสที่ 3 สิงหาคม  2566

เวลา 12.00-13.00 น.: Clinicopathological Conference ประจำเดือน กรกฎาคม 2566
ผู้บรรยาย:
   อายุรแพทย์: อ.พญ.อันทิพา โชคสุวัฒนสกุล
   รังสีแพทย์: ผศ.(พิเศษ)พญ.เกวลี ศศิวิมลพันธุ์, อ.พญ.ปิยพร บุญศิริคำชัย
   Diagnostician: concealed identity
ผู้ดำเนินรายการ: นพ.ศุภพัฒน์ มีสุนทร

Case protocol: https://chula-my.sharepoint.com/:w:/g/personal/6475347130_student_chula_ac_th/EVpCjh-Gda5IjWqDxlURaoUBbq8yfERihtdIKyWrOcZQpg?rtime=vUYFe-2P20g

ณ ห้องประชุม 1301 โซน C ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์






วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม  2566

เวลา 7.30-8.30 น.: Admission Round* (บันทึกวิดีโอ)   
กิจกรรมแบบ Hybrid สามารถเข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1301 โซน C ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์หรือ ผ่าน Application Zoom

Zoom link :

https://chula.zoom.us/j/99797587154?pwd=SXhvaVVnMEtMQTloUzRWYXU5ZmtSQT09

Meeting ID: 997 9758 7154
Password: 121314

 

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง
พญ.ปุญณิศา ตาลกิจกุล
หัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน อายุรศาสตร์จุฬาฯ
80
ประกาศ!
วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 ถึง 2 สิงหาคม 2566
หอสมุดเปิดบริการเวลา 09:00-24:00 น.

Announcement!
July 28, 2023 to August 2, 2023
Medical Library will be open from
9:00 a.m. to midnight.
Pages: 1 ... 6 7 [8] 9 10