Cumedicine Board > CU Medicine Public Board

การแข่งขันตอบปัญหาสรีรวิทยานานาชาติ (Inter-medical School Physiology Quiz) II

<< < (2/2)

Wanla:
การแข่งขันถูกเว้นไป 2 ปี จากการระบาดของโควิด

18th IMSPQ 2022/2565 แข่งขันออนไลน์ (เพราะการระบาดของโควิด) โดยศูนย์กลางอยู่ที่เจ้าภาพ University of Malaya Sep 20 & 22, 22

ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 84 ทีม จาก 19 ประเทศ โดยมีทีมจากประเทศไทยเข้าแข่งขันรวม 6 ทีม
รอบคัดเลือก ข้อสอบข้อเขียน (20 ก.ย. 2565)
นางสาววีริยา ธารทัศนวงศ์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลคะแนนข้อเขียนสูงสุดเป็นอันดับที่ 2
 
รอบตัดเชือก/ชิงชนะเลิศ ด้วยข้อสอบ short answer ผ่านระบบ live online competition (22 ก.ย. 2565)
ทีมจุฬาฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยได้แชมป์เป็นครั้งที่ 4 ตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขัน
 

ทีมนิสิตแพทย์จุฬาฯ ประกอบด้วย
นางสาววีริยา ธารทัศนวงศ์
นายภาวิช พิทักษ์กิจนุกูร
นายทัพพ์ไท เหลืองสุวรรณ

Winner — คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1st runner-up — คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
2nd runner-up — University of Ruhuna (Sri Lanka)

Wanla:
19th IMSPQ 2023/2566 at the UGM’s Faculty of Medicine.
73 teams from 15 countries

ทีมจากประเทศไทย ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.นราธิวาสราชนครินทร์ มศว ม.ขอนแก่น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตัวแทนนิสิตจากจุฬาฯ ประกอบด้วย นายกันตวิชญ์ ปิยนิรันดร์ นางสาวนิรดา ลาภประเสริฐ และนายสิวัช รักษ์งาน

จุฬาฯ ได้คะแนนข้อเขียนรายบุคคลเป็นลำดับที่ 1 และ 3

ผู้ได้คะแนนข้อเขียนรายบุคคลสูงสุด 10 ลำดับแรกได้แก่ https://fkkmk.ugm.ac.id/imspq-2023-competition-final-at-fk-kmk-ugm/

1. สิวัช รักษ์งาน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
2. Muhammad Dzaky Abdillah (University of Indonesia)
3. กันตวิชญ์ ปิยนิรันดร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
4. Sun Sin-Yuan (Tzu Chi University, Taiwan)
5. Ghitâ Leon Victor (Iuliu Haţieganu University of Medicine and Pharmacy, Romania)
6. ธนกฤต กมลสัมฤทธิ์ผล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
7. ธีรยุทธ ศรีจันทร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น
8. กิตติกร วิลาศรัศมี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
9. Shu Ho Lun Collin (National University of Singapore) และ
10. Joel Ny Jia Wei (National University of Singapore)

ส่วนคะแนนข้อเขียนประเภททีมนั้น ทีมจุฬาฯ ได้คะแนนรวมสูงสุดเป็นลำดับที่ 1

รอบแข่งขันบนเวที รอบแรก 30 ทีม ทีมจากไทยที่ได้เข้ารอบคือ ทีมจากศิริราช ขอนแก่น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และจุฬาฯ
รอบที่สองเหลือ 15 ทีม ทีมจากไทยในรอบนี้ ประกอบด้วย ศิริราช ขอนแก่น และจุฬาฯ
รอบ semifinal เหลือ 6 ทีม ประกอบด้วย National University of Singapore (NUS), University of Indonesia, Southwest Medical University (China), University of Malaya (Malaysia), ศิริราช และจุฬาฯ

ตำแหน่งชนะเลิศ เป็นของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ได้แชมป์เป็นครั้งที่ 5)
1st runner-up — National University of Singapore (NUS)
2nd runner-up — คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

Wanla:
สรุปสถิติทีมที่ชนะการแข่งขัน 3 ลำดับแรกของแต่ละปี ตั้งแต่เปิดให้โรงเรียนแพทย์นานาชาติเข้าร่วมแข่งขันในปี 2008/2551 จนถึงปี 2023/2566 ดังในตาราง

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 12 ครั้ง ได้แชมป์ 5 ครั้ง รองอันดับหนึ่ง 2 ครั้ง

ผู้ได้แชมป์บ่อย รองลงมาคือ National University of Singapore (NUS) ได้ทั้งหมด 3 ครั้ง ได้รองอันดับหนึ่ง 2 ครั้ง

ส่วน University of Malaya และ Universitas Gadjah Mada, Indonesia ได้แชมป์แห่งละ 2 ครั้ง โดย University of Malaya ได้รองอันดับสองอีก 1 ครั้งด้วย


Navigation

[0] Message Index

[*] Previous page

Go to full version