Author Topic: Aggressive Fluid and Sodium Restriction in Acute Decompensated Heart Failure  (Read 15461 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

iceswan

  • เด็กล้างจาน
  • *
  • Posts: 18
    • Email
วันนี้อ่าน paper นี้ครับ แปลกใจกับ result มากทีเดียว เลยอยากรบกวนพี่ๆและอาจารย์ให้ความเห็นว่านำไปใช้ได้หรือไม่

Aggressive Fluid and Sodium Restriction in Acute Decompensated Heart Failure
A Randomized Clinical Trial
JAMA Intern Med. 2013;():1-7. doi:10.1001/jamainternmed.2013.552.

เป็น RCT ทำในคนที่ acute decompensated systolic heart failure ที่ admit
intervention คือ restrict น้ำ 800ml Na 800mg เทียบกับ control คือไม่ restrict เลย (น้ำ 2.5 litre, Na 3-5g)
ผลพบว่าไม่มีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในแง่ของน้ำหนักที่ลดได้ในสามวัน ปริมาณยาที่ใช้(diuretic, vasodilator), และ readmission

ซึ่งปกติก็จะ order แบบไม่คิดอะไรเลย restrict oral fluid < 1200, Na < 2g/d ก็เลยไม่รู้ว่าที่ทำมีประโยชน์หรือเปล่า
พออ่านไปก็คิดตามว่า จริงๆถ้านอนรพ.แล้วเราเห็นกินเยอะ ก็ฉีดยาไล่เยอะขึ้นก็น่าจะได้ แต่ผลปรากฎว่า ปริมาณยาก็ใช้ไม่ต่างกันด้วย

ที่ติดใจก็คือ n ได้ 75 มีคนที่ exclude ด้วย "other reason" ถึง 155 คน เลยไม่รู้ว่าซ่อนเหตุผลอะไรไว้หรือเปล่า
เรื่องการ blind นี่ไม่แน่ใจว่า blind หมอที่ดูแลยังไง เพราะก็น่าจะเห็น I/O อยู่ชัดๆ แต่ไม่น่าจะมีผลกับ result เท่าไร

ในแง่การนำไปใช้ ก็คงได้กับคนไข้ที่ไม่ severe มาก ไตยังดีอยู่ ตาม inclusion ของเค้า
ซึ่งก็คงไม่ถึงกับให้กินได้เต็มที่ เพราะจะเสียนิสัยใน long term
แต่แสดงว่าเราอาจจะลดความ strict ได้บ้าง เพราะบางทีคนไข้ก็หิวน้ำมาก และบางทีเราก็จำกัดน้ำจนได้ calories ไม่พอ (พวกที่ feed BD)

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

kaveemd

  • เด็กล้างจาน
  • *
  • Posts: 6
    • Email
ขอร่วมแสดงความคิดเห็นเล็กน้อยนะครับ
ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนว่า ด้อยทั้งความรู้และประสบการณ์   :P

สำหรับการศึกษานี้ก็น่าสนใจ อย่างที่ iceswan บอกว่าส่วนมากก็ สั่งเป็น routine กัน เคยแอบสงสัยอยู่บ้าง แต่ด้วยความขี้เกียจเลยปล่อยผ่านไป
ก่อนอื่นขอเริ่มจาก Population ก่อนละกัน แน่นอนว่าทำในต่างประเทศย่อมไม่ใช่คนไทย ซึ่งจุดนี้คิดว่าอาจจะมีความสำคัญไม่น้อย เพราะคุ้นๆว่า บางเชื้อชาติอาจจะ sensitive to salt ต่างกับชาติอื่น ??
อีกจุดนึงที่สงสัยคือ สาเหตุของ heart failure ในการศึกษานี้ เป็น ischemic แค่ 23% เปรียบเทียบกับข้อมูลจาก Thai ADHERE มี coronary เป็นสาเหตุถึง 44.7% ทำให้การนำผลมาใช้กับคนไทยอาจจะต้องระมัดระวัง

ในแง่ของการ recruit participants พยายามดูก็ไม่เห็นรายละเอียดจริงๆ ว่า 155 คนที่ exclude เป็นเพราะอะไร ปัญหาคือ คนไข้ที่เข้าร่วมการศึกษาจริงๆ มีแค่ 9% เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็น highly selected group  ???

เรื่องการ blinding เห็นด้วยครับว่าน่าจะมีปัญหา ซึ่งจุดนี้น่าจะสำคัญเหมือนกัน เพราะ outcome ที่เค้าวัดอันหนึ่งคือ CSS เป็นตัวแปรที่ bias ได้, แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่าคือ เค้าไม่ได้แสดงว่า แต่ละกลุ่มได้รับ intervention อย่างที่ assign จริงๆหรือไม่?
ใน protocol เหมือนจะแค่ควบคุมใน computer กับการให้ education แต่ในชีวิตจริงทุกคนน่าจะเคยเจอว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้ป่วยจะทำได้ตามที่เราบอก (ในเวลาสั้นๆ) ซึ่งความแตกต่างใน intervention ของทั้งสองกลุ่มไม่ได้ต่างกันมากจริงอย่างที่ตั้งไว้ การแปลผลก็คงลำบาก

ในแง่ของ outcome นี่ ไม่ทราบครับว่าการใช้้ weight loss กับ clinical stability ที่ 3 วัน นี่มัน valid รึเปล่า

อ่านคร่าวๆ ได้แค่นี้ก่อนละกันครับ [ปล. พรุ่งนี้สอบ  :o ]

เพิ่มอีกนิด ถ้าเชื่อตามการศึกษานี้ก็บอกได้แค่ว่า การจำกัดทั้งน้ำและเกลือ มันไม่ต่าง แต่ไม่รู้ว่าถ้าจำกัดน้ำแล้วให้กินเกลือเยอะ จะเป็นยังไง
« Last Edit: May 26, 2013, 09:47:09 PM by kaveemd »

kaveemd

  • เด็กล้างจาน
  • *
  • Posts: 6
    • Email
ดูเหมือนจะยุไม่ขึ้นจริงๆครับ  ???
อาจจะเป็นเพราะ web board มันไม่มีแรงดึงดูดเหมือน facebook  ;D